แม้ว่าปกติแล้วเราจะสามารถฟื้นตัวกลับมาเป็นปกติได้หลังจากเจอเหตุการณ์ที่ยากลำบาก แต่เหตุการณ์ความรุนแรงอาจส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยและจิตใจได้มากทีเดียว โดยทั่วไปแล้วจะมีอารมณ์เกิดขึ้นมากมายจากเหตุการณ์เช่นนี้ ทั้งความตกใจ โศกเศร้า เสียใจ กังวล โกรธ ผิดหวัง ฯลฯ ซึ่งจะหายไปตามเวลา
แต่บางครั้งการจัดการอารมณ์เหล่านี้อาจเป็นเรื่องยากเกินกว่าจะรับมือได้ด้วยตัวเอง จากสถานการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น ALRISE ขอเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันข้อมูลสำหรับการดูแลจิตใจตนเองในช่วงหลังเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นค่ะ
👉🏼 พูดระบายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นและขอความช่วยเหลือจากผู้ที่ยินดีรับฟัง
ขอความช่วยเหลือจากผู้อื่นที่ยินดีช่วยเหลือและรับฟังสิ่งที่อยากระบายจะช่วยให้สามารถก้าวข้ามความกังวลหรือความโดดเดี่ยวที่มีอยู่จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยผู้ที่รับฟังอาจรู้สึกหรือมีประสบการณ์เดียวกันที่ทำให้ลดความโดดเดี่ยวได้น้อยลง
👉🏼 โฟกัสเรื่องบวกในชีวิตเพื่อเตือนตนเองถึงมุมมองแง่ดี
ความรู้สึกตกใจ (shock) และมองโลกในแง่ลบหลังเหตุการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องปกติ โดยการนึกถึงคนและช่วงเวลาที่ทำให้สบายใจและช่วยกระตุ้นความคิดด้านบวกจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้ การโฟกัสที่เรื่องดี ๆ จะช่วยทำให้มองตนเองและกลับมามองโลกในแง่บวกมากขึ้น
👉🏼 พักเบรกจากข่าวสารที่ทำให้เกิดความรู้สึกด้านลบ
แม้ว่าเราจะต้องคอยรับข่าวสารอยู่เสมอ แต่ในสถานการณ์เช่นนี้การจำกัดปริมาณข่าวสารที่ได้รับเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยให้ผ่านสถานการณ์ความรุนแรงได้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นข่าวจากสื่อโซเชียลมีเดีย โทรศัพท์ หรือหนังสือพิมพ์ก็ตาม การได้รับข่าวสารมากเกินไปอาจสร้างความเครียดให้สะสมมากขึ้นและส่งผลต่อชีวิตประจำวันได้
👉🏼 เข้าใจความรู้สึกที่อาจเกิดขึ้นมากมายจากเหตุการณ์
แม้ว่าความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์เช่นนี้เป็นเรื่องปกติที่ต้องเผชิญ แต่หากมีความรู้สึกที่รุนแรงและเข้มข้นมากจนเกินไปก็อาจส่งผลต่อร่างกายได้เช่นเดียวกับการเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น อาการเหนื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง
👉🏼 ไม่ลืมที่จะดูแลกายใจของตนเอง
ดูแลร่างกายตนเองด้วยการทำกิจกรรมที่ดีต่อสุขภาพกายและใจ ทานอาหารให้ครบหมู่ นอนให้เต็มที่ ออกกำลังกายอยู่เสมอ นั่งสมาธิเพื่อจัดการกับความคิดต่าง ๆ ทำกิจวัตรประจำวันที่ทำอยู่เสมอ เป็นต้น
👉🏼 ช่วยเหลือผู้อื่นที่ได้รับผลกระทบ/ต้องการความช่วยเหลือ
มองหาแหล่งช่วยเหลือใกล้ตัวที่สามารถช่วยเหลือคนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์หรือต้องการความช่วยเหลือ การช่วยเหลือผู้อื่นเช่นนี้นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นแล้วยังช่วยให้สามารถรู้สึกดีกับตนเองได้ คอยสังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ที่ต้องให้การช่วยเหลือ เช่น การยึดติดผู้ปกครองในเด็ก และการมีอารมณ์ตอบสนองที่รุนแรงในผู้ใหญ่
แนวทางเหล่านี้จะช่วยให้ก้าวผ่านเหตุการณ์รุนแรงนี้ไปได้ แต่หากยังรู้สึกว่าไม่สามารถฟื้นตัวได้อย่างปกติ หรือส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ขอให้รีบติดต่อขอความช่วยเหลือจากแหล่งความช่วยเหลือที่ใกล้ที่สุดโดยด่วน เพื่อให้ได้รับความช่วยเหลือได้ทันท่วงที
Source: Managing your distress in the aftermath of a shooting by American Psychological Association (APA) https://bit.ly/46f7mFT
Comments