การนิเทศคืออะไร
คือ การที่นักจิตวิทยาการปรึกษา 'ขอรับการนิเทศ' จากนักจิตวิทยาการปรึกษาที่มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ และประสบการณ์ในการให้บริการปรึกษาเชิงจิตวิทยามากกว่า เพื่อปรับปรุงหรือพัฒนาคุณภาพในการช่วยเหลือผู้รับบริการให้มีประสิทธิผลยิ่งขึ้น
ถือเป็นหนึ่งในกระบวนการทำงานของการช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตที่ต้องทำอย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาคุณภาพและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ทำไมการนิเทศจึงสำคัญ
การนิเทศ (Supervision) เป็น 'ข้อปฏิบัติมาตรฐานวิชาชีพสากล' ของนักจิตวิทยาการปรึกษา เพื่อปรับปรุงคุณภาพการช่วยเหลือผู้รับบริการ การนิเทศจะทำให้นักจิตวิทยาการปรึกษาได้พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งเสริมประสิทธิผลของบริการตามเป้าหมายของผู้รับบริการ
ผู้ให้บริการควรได้รับการนิเทศเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง เพื่อคงไว้ซึ่งคุณภาพในการบริการซึ่งเป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้รับบริการเป็นสำคัญ
ผู้นิเทศบริการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
ดร.วรัญญู กองชัยมงคล
อาจารย์ประจำแขนงวิชาจิตวิทยาการปรึกษา
คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ดร.วรัญญู เป็นที่ปรึกษาประจำศูนย์ฯ ผู้แนะแนวทางในการช่วยเหลือผู้รับบริการในประเด็นต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่ดียิ่งขึ้น โดยนักจิตวิทยาของเราทุกคนจะได้รับการดูแลและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการเข้าใจปัญหา วิเคราะห์ถึงสาเหตุของปัญหา ตลอดจนแนวทางที่เหมาะสมกับผู้รับบริการในบริบทที่แตกต่างกันออกไป
เพื่อให้มั่นใจว่าทุกชั่วโมงการปรึกษาจาก ALRISE จะช่วยให้ผู้ที่อยู่ตรงหน้าเราได้ทุเลาเบาบางจากความทุกข์ในใจและเดินออกไปด้วยวิธีการจัดการสิ่งที่เผชิญอยู่อย่างแจ่มชัดและใจที่สงบเย็นมั่นคงขึ้น
ประวัติการศึกษา
ปริญญาเอก
-
จิตวิทยาการปรึกษา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปริญญาโท-เอก)
ปริญญาตรี
-
จิตวิทยา คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ 1)